คู่กายของชายชาตรีเสริมพลัง


ที่เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ปลาไหลเผือก" เนื่องจากรากของสมุนไพรชนิดนี้มีลักษณะเหมือนปลาไหลเผือก
 คือมีสีขาวยาวๆ เหมือนปลาไหลเผือกและยังมีรากเดียว บางครั้งจึงมีคนเรียกว่า พญารากเดียว
ซึ่งทางอีสานเรียก เอี่ยน ด่อน (ภาษาอีสานเรียกปลาไหลว่า เอี่ยน ส่วนด่อนภาษาอีสานหมายถึง เผือก)
คนอีสานบางท้องที่เรียกปลาไหลเผือกว่า หยิกบ่ถอง ส่วนรากปลาไหลเผือก
ถ้ามีอายุหลายปี จะมีความยาวมาก บางครั้งยาวมากกว่าความสูงของคนเสียอีก
 จนทำให้บางท้องที่เรียกปลาไหลเผือกว่า ตรึงบาดาล
ปลาไหลเผือกเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีลำต้นสีแดง ในป่าดงดิบจะสูงประมาณ ๖-๑๕ เมตร
แต่ในป่าเต็งรังสูงประมาณ ๑-๓ เมตร ไม่แตกกิ่งก้านทางด้านข้าง จะมีใบอยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น
 ใบยาวประมาณ ๑ เมตร ใบนี้ประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก ใบย่อยมีขนและรูปร่างเรียวแหลมหรือรูปไข่
ปลายเรียวแหลม ดอกสีแดงยาว ๑๐-๑๕ มิลลิเมตร มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออกรวมกันเป็นช่อใหญ่
ดอกยาวขนาดใกล้เคียงกับความยาวของใบ ผลสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายรูปไข่ ขนาดกว้าง ๕-๑๒ มิลลิเมตร
ยาว ๑๐-๑๗ มิลลิเมตร
หลากหลายตำนาน หลากหลายป่า ของ ปลาไหลเผือก
ปลาไหลเผือก…
สมุนไพรที่ใช้เปรียบเสมือนไม้เท้าของท่านอาลี …แสดงถึงความทรงพลังและความมีอายุยืน
ชาวไทยมุสลิมภาคใต้จะเรียกปลาไหลเผือกว่า ตงกัท อาลี (Tongkat Ali)
ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับที่คนมาเลเซียเรียกกัน “ตงกัท” แปลว่าไม้เท้า “อาลี”
คือ นักรบที่เก่งกล้า มีพละกำลังแข็งแกร่ง
ในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ท่านอาลีรบเคียงข้างมากับท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ.ล)
 ดังนั้นชื่อ “ตงกัทอาลี” Tongkat Ali
 จึงมีความหมายถึงความทรงพลังและความมีอายุยืน จากการเรียกชื่อเช่นนั้นทำให้เชื่อกันว่า
ปลาไหลเผือกเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานนับพันปีแล้ว ชุมชนในสามจังหวัดภาคใต้
นิยมนำทั้ง “แก่นและราก” ของตงกัทอาลี
มาต้มน้ำกินวันละ ๓-๔ ครั้งและก่อนนอน ถือเป็นยาโด๊บชั้นยอด สามารถบำรุงกำลังและ

บำรุงสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย แม้จะมีรสขมจัดก็ตาม นอกจากต้มกินแล้วบางคนยังใช้ทำเป็นชา
 ชงกินต่างใบชา เพื่อบำรุงกำลัง นอกจากจะใช้ประโยชน์
ในการเป็นยาโด๊บแล้ว “ตงกัท อาลี” ยังใช้ต้มกินเพื่อป้องกันและรักษาไข้ป่า แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป
ปลาไหลเผือก...สมุนไพรเพิ่มพลัง